บทที่ 1

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของสื่อดิจิตอล โลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการประยุกต์ใช้งานไอที เพราะอินเทอร์เน็ตช่วยให้ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารรอบโลกได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ติดต่อกับคนหรือหน่วยงานภายในและนอกประเทศได้ภายในพริบตา ผู้บริโภคได้ให้นิยามของสื่อใหม่ต่างๆในวันนี้ว่า ดิจิตอลคอนเท็นต์ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง (View, Create, Copy, Share, Etc.) ได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยอุปกรณ์ใดๆ ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ก้าวต่อไปของสื่อใหม่จะเป็นการเชื่อมโยงและผสมผสานระหว่างดิจิตอลคอนเท็นต์เหล่านั้นเข้าด้วยกันที่เรียกว่า Mash Up อันเป็นพื้นฐานของเว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดรู้ หรือ มี AI สามารถค้นหา และคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้ อุปกรณ์ไอที Gadget ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นNotebook, Netbook, Smart Phone, MID (Mobile Internet Device), Digital Photo frame, e-book หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Digital home appliance) จะได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดในการทำงานมากขึ้น ทั้งขนาด คุณสมบัติการทำงาน และราคา ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องทำความรู้จักกับที่มา วิวัฒนาการ ลักษณะการทำงานใหม่ๆ ของ Web 3.0 ให้เข้าใจตรงกัน ซึ่ง Web 1.0 – เว็บไซต์ในยุคนี้จะเป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ของผู้ให้บริการเว็บไซต์ เผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเนื้อหาจะมีลักษณะเช่นเดียวกับหนังสือ คือ ผู้สนใจเข้ามาอ่านข้อมูลต่างๆ ได้เพียงอย่างเดียว ไม่มีส่วนร่วมในการนำเสนอหรือมีส่วนร่วมค่อนข้างน้อย Web 2.0 – ในยุคนี้ ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสามารถสร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่างๆ มีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น เว็บสารานุกรมออนไลน์ Wikipedia ได้ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละบุคคล ทำให้ข้อมูลนั้นถูกต้องมากที่สุด และจะถูกมากขึ้น เมื่อเรื่องนั้นถูกขัดเกลามาเป็นเวลายาวนาน หรือการแชร์ไฟล์มัลติมีเดียใน Youtube เป็นต้น นอกจากนี้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือบุคคลทั่วไปยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์มีความสมบูรณ์และมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด และ Web 3.0 – เป็นการเพิ่มแนวความคิดในการจัดการข้อมูลซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากมายมหาศาลจากผลพ่วงของเว็บในยุค Web 2.0 ทำให้เว็บต่างๆ ต้องมีระบบบริหารจัดการเว็บให้ดีขึ้น ง่ายขึ้น ด้วยรูปแบบ metadata ซึ่งก็คือ การนำข้อมูลมาบอกรายละเอียดของข้อมูล หรือ data about data โดยระบบเว็บจะจัดการค้นหาข้อมูลให้เราเอง
ประสาทถนนหักสร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่16 มีกรมศิลป์มาตรวจดูปราสาทใช้ลายแทงตรวจดูที่ปราสาทก็ได้พบมงกุฎ สร้อยคอทองคำ พวกกรมศิลป์ก็ได้มาปรับปรุงแก้ไขปราสาทแต่แล้วก็มีช้างป่าหิวโหยมาชนทำลายจนปราสาทพังจนเหตุการณ์ปกติแล้วชาวบ้านก็ได้มาช่วยกันยกหินสร้างปราสาทกันใหม่ในประมาณปี พ.ศ 2530 ปราสาทจะล้อมรอบไปด้วยหินที่มีสีน้ำตาลเข้มแต่ที่คนเฒ่าคนแก่เขาว่ากันว่าเมื่อก่อนปราสาทนี้มันเป็นถ้ำแต่ในสมัยที่ชาวบ้านได้พากันยกหินทำเป็นปราสาทอยู่ข้างในมีพ่อเฒ่าหลงคง พ่อเฒ่าดำ พ่อบุริใหญ่ เฝ้าอยู่ที่ปราสาทบ้านถนนหักคอยดูแลปกปักรักษาปราสาท
ชาวบ้านถนนหักเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมชาวบ้านก็จะเห็นผู้ที่ปกปักรักษาปราสาทมาปรากฎตัวให้เห็นและชาวบ้านก็จะพากันมากราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธ์ต่างๆนานา
ปราสาทบ้านถนนหัก ตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมาเป็นปราสาทแบบเขมนสร้างด้วยสิราแรงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกประกอบด้วยปราสาทองค์กลางใหญ่ที่สุดเป็นองค์ประทานล้อมด้วยปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านละองค์โดยมีกำแพงแก้วโอมล้อมอาคารทั้งหมดไว้ที่กำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกมีซุ่มทางเข้า(โคปุระ)ตั้งอยู่กับประตูทางออกของอีกด้านปราสาทแห่งนี้ล้อมด้วยคูแม่น้ำแต่เว้นทางเข้าไว้ให้ตรงกับประตูทางเข้า-ออก
จากโบราณวัตถุที่พบเช่นเครื่องประดับทองชิ้นส่วนทับหลังและแผ่นหินสลักประติมากรรมทำด้วยหินทรายและสำริดและเครื่องเคลือบสำน้ำตาลเข้ม-ดำแบบเขมรกล่าวได้ว่าปราสาทบ้านถนนหักเป็นที่ที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูหรือพรามณ์ลัทธิมหานิกายซึ่งจะสร้างขึ้นราวตอนปลายพุทธศตวรรษที่16
การศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นปราสาทหินบ้านถนนหักของชุมชนนี้ ก็เพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น และปัญหาที่เสี่ยงต่อการสูญสิ้นของภูมิปัญญานี้ ว่ามีมากหรือน้อย และด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบใด เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์หรือแก้ไข คณะผู้จัดทำจึงมีความประสงค์ที่จะจัดทำโครงงานการสร้างเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้สืบชั่วลูกหลานและเผยแพร่ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานต่าง ๆ ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปราสาทหินบ้านถนนหัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
1.2.2 เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
1.2.3 เพื่อแผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับปราสาทหินบ้านถนนหัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
1.3 ขอบเขตของโครงงาน
เป็นการจัดทำเว็บบล็อกเกี่ยวปราสาทหินบ้านถนนหัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนในการทำ จนกระทั่งผลงานที่สามารถนำมาใช้งานได้หรือจำหน่วย
1.3.1 เครื่องมือที่ใช้
1.3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ intel R Pentium R 4 CPU 3.20 GHz, 1 GB of RAM
1.3.1.2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 7
1.3.1.3 ระบบอินเทอร์เน็ต
1.3.1.7 Photoshop CS3
1.4 สถานที่ดำเนินการ
1.4.1 บ้านถนนหัก ตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จัหวัดนครราชสีมา
1.4.2 โรงเรียนหนองบุญมากประสงค์วิทยา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน2556 – เดือนกุมภาพันธ์ 2557
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ได้รู้เกี่ยวกับการจัดทำเว็บบล็อก
1.6.2 ได้รู้เกี่ยวกับความเป็นมาของปราสาทหินบ้านถนนหัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
1.6.3 ได้อนุรักษ์ไว้ซื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบุญมาก
1.6.4 ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมาให้คนทั่วไปได้รับรู้

Posted in Uncategorized | Leave a comment

บทที่ 2

ในการจัดทำเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำเสนอตามลำดับข้อต่อไปนี้
2.1 ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
2.2 เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
2.3 การออกแบบเว็บไซต์
2.4 เว็บบล็อก (Weblog)
2.5 ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.1 ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในปี พ.ศ ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัว ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหม จึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่าAdvanced Research Projects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPAได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา (Cooperative network of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ชื่อว่าARPANET จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่ง เข้าด้วยกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANET ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ถึง ๒๓ เครื่อง จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคน เริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้
แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้าง เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโปรโตคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โปรโตคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการ ARPANET ได้นำโปรโตคอล TCP/IP ไปใช้

การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัย และพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆ เข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IPและใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) ต่อมาการบริหาร และดำเนินงานเครือข่าย ได้รับการสนับสนุน จากมูลนิธิการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่า NSF (National Science Foundation)มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลาง ที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการ จนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
สำหรับในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยง เพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติการพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแส การเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IPตามมาตรฐานนี้ มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรส ให้แก่เครือข่าย และเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้น เพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ไอพีแอดเดรสทุกตัว จะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลก การกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลข ให้แก่เครือข่าย
ผู้ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จะเป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ต โดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน สามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆ ได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้าน สามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้าน ต่อผ่านโมเด็ม มาที่เครื่องหลัก หลังจากนั้น ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆ ได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้าน จะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย หรือติดต่อกับเพื่อนๆ ได้ ทั้งในมหาวิทยาลัย และต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่า ในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย สามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ที่เชื่อมโยงกันในประเทศ ซึ่งจัดการโดยหน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider) หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร (THAISARN – THAI Social / Scientific, Academic and Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศ ทำให้ทุกเครือข่ายย่อย สามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้
2.2 เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ยุคขอเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ทำให้การเชื่อมโยงระบบสื่อการเข้าสู่ระบบที่เรียกว่า หมู่บ้านโลก หรือโลกาภิวัตน์ ในบรรดาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายใช้กันอยู่นี้ โปรโตคอลที่ได้รับการยอมรับว่า มีบทบาทสูงมาก ในขณะนี้คือ TCP/IPดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
TCP เป็นตัวย่อมาจาก Transmission Control Protocol ส่วน IPเป็นตัวย่อมาจาก Internet Protocolทั้งสองโปรโตคอลนี้ เป็นโพรโทคอลที่ใช้ร่วมกัน และมีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ
IP เป็นโพรโทคอลที่ทำงานในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก โพรโทคอลในระดับนี้ทำงาน เพื่อหาเส้นทางการนำส่งข้อมูลในเครือข่าย ลักษณ์ของ IP เป็นการนำเอาข้อมูลใส่เป็นแพ็กเก็ต แล้วส่งไปยังแอดเดรสปลายทางที่ต้องการ ระบบการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลนี้ มีรูปแบบการส่งเหมือนบุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมาย เราจึงเรียกแพ็กเก็ต IP ว่า เดทาแกรม สถานีรับส่งบนเครือข่ายจะมีแอดเดรสที่ชัดเจน
TCP เป็นโพรโทคอลที่ทำงานในระดับชั้นที่ ๔ ที่เรียกว่า ชั้นทรานสปอร์ต ระดับชั้นนี้ ทำให้สถานีรับส่งแต่ละสถานี รับข้อมูลจากหลายงาน วิ่งรวมเข้าไปด้วยกันได้ เช่น สถานีบริการแห่งหนึ่ง เปิดโปรแกรมให้เครื่องขอใช้บริการเชื่อมโยงมาเรียกดูข้อมูลได้หลายๆ เครื่องพร้อมกัน จะทำให้สองสถานีที่เชื่อมโยงสื่อสารถึงกัน สามารถแบ่งสายการทำงานในแต่ละโปรแกรมประยุกต์ได้ถูกต้อง โดยใช้เครื่องหมายเลขสถานีเป็นตัวกำหนดตัวอย่างเช่น สถานี Aเป็นสถานีขอรับบริการ ติดต่อไปยังตัวให้บริการ X สถานี Bก็เป็นสถานีขอใช้บริการติดต่อไปยังตัวให้บริการ X เช่นกัน สถานี Bอาจเชื่อมต่อไปยังสถานี X มากกว่าหนึ่งช่องสื่อสารก็ได้ การสื่อสารด้วย TCP/IPมีข้อเด่นคือ เป็นการสื่อสารอยู่บนโพรโทคอลในระดับ ๒ และ ๑ ซึ่งเป็นชั้นเดทาลิงก์ และฟิสิคัลลิงก์ ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายอะไรก็ได้ จึงทำให้ TCP/IP เป็นโพรโทคอลที่ไม่ขึ้นกับวิธีการเชื่อมต่อในระดับล่างTCP/IP จึงใช้ได้กับเครือข่ายแบบอีเทอร์เน็ต โทแกนริง เอทีเอ็ม x.25เฟรมรีเลย์ ฯลฯ หรือแม้แต่การเชื่อมโยงแบบจุดไปจุดด้วยสายสื่อสารตรง
การนำข้อมูลวิ่งผ่านไปบนเครือข่ายนั้น TCP/IPเป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จึงก่อให้เกิดการประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง มีผู้พัฒนาการประยุกต์ใช้งานบนเครือข่ายแบบ TCP/IP กันมาก
TCP/IP จึงเป็นโพรโทคอลที่ได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ดังจะเห็นได้จากความสำเร็จในเรื่องอินเทอร์เน็ต ที่วิ่งอยู่บนโพรโทคอลนี้ และกำลังนำมาใช้ในองค์กรในรูปแบบเครือข่ายภายใน ที่เรียกว่า อินทราเน็ต TCP/IP พัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย หรือกล่าวได้ว่า เป็นเครือข่ายของเครือข่าย ดังเช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายของเครือข่ายย่อยหลายหมื่นหลายแสนเครือข่าย TCP/IPจึงเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้หลายสิบล้านคนบนอินเทอร์เน็ต และมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ TCP/IPจึงได้รับความสนใจจากผู้ผลิตทุกราย และเป็นผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ที่ให้การเชื่อมโยงกันได้
– Multiply/TRAGGED/SpaceLive

การเชื่อมโยงแบบ TCP/IP มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างต้นทาง และปลายทาง ทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีการทำงาน แบบไคลแอนต์ และเซิร์ฟเวอร์ได้ กล่าวคือ ด้านหนึ่ง เป็นผู้ขอให้บริการ และอีกด้านหนึ่ง เป็นผู้ให้บริการ การทำงานร่วมกันนี้เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างยี่ห้อ หรือต่างผู้ผลิตสามารถใช้งานร่วมกันได้

เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น จึงมีผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้งานแบบกราฟิก เราเรียกระบบการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบนี้ว่า ระบบกราฟิคัลยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ กราฟิกยูสเซอร์อินเทอร์เฟซจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เข้ามามีบทบาทตอบสนองความต้องการ ดังจะเห็นได้จากโปรแกรมวินโดวส์ ซึ่งเป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่มียูสเซอร์อินเทอร์เฟซที่ดี และใช้งานง่าย ผู้ใช้ส่วนใหญ่จึงมีความรู้จักคุ้นเคย โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ จึงหันเข้าสู่การประยุกต์ใช้งานบนสิ่งแวดล้อมของวินโดวส์ โปรแกรมใช้งานในยุคต่อไป จึงเป็นแบบกราฟิคัลยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ ขณะเดียวกันผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้TCP/IP เพื่องานต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์เมล การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การเรียกค้นข้อมูล การเรียกเข้าหาระบบ การอ่านข่าวบนกระดานข่าว เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการประยุกต์ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ โดยการติดต่อเข้าหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย อีกทั้งการใช้งานเป็นแบบกราฟิคัลยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ ดังนั้น ผู้ใช้จึงใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
นอกจากนี้ พีซีที่ใช้งานส่วนใหญ่มีโปรแกรมวินโดวส์ และเชื่อมต่อบนเครือข่ายได้อยู่แล้ว จึง สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ง่าย อีกทั้งการขยายตัวของผู้ใช้ที่ต่อเชื่อมโยงเครือข่ายส่วนใหญ่ จะใช้พีซีต่อเข้าระบบ ซึ่งพีซีส่วนใหญ่ทำงานทางด้านกราฟิกได้ดี และมีระดับความสามารถเชิงการประมวลผลเฉพาะตัวได้มาก ด้วยเหตุนี้ พีซี ส่วนใหญ่จึงได้ซอฟต์แวร์ TCP/IP ร่วมอยู่ด้วย และเชื่อมโยงใช้งาน ด้วยระบบกราฟิคัลยูสเซอร์ อินเทอร์เฟซ
2.3 หลักการออกแบบเว็บไซต์
หลักการออกแบบเว็บไซต์สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์
2.3.1 การวางแผน
การวางแผนนับว่ามีความสำคัญมากในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ มีแนว ทางที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งประกอบด้วย
2.3.2 การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์
การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ที่จะสร้าง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เลยทีเดียว เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องการนำเสนอข้อมูลแบบใด เช่น เว็บไซต์เพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร การบริการด้านต่าง ๆ หรือขายสินค้า เป็นต้น เมื่อสามารถกำหนดจุดประสงค์ของเว็บไซต์ได้แล้ว เงื่อนไขเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดโครง สร้างรูปแบบรวมถึงหน้าตา และสีเว็บไซต์ของเราด้วย
2.3.3 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้การสร้างและออกแบบเว็บไวต์ได้รับความนิยม การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเข้าชมเว็บไซต์ก็นับว่ามีส่วนสำคัญไม่น้อย เช่น เว็บไซต์สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในการค้นหาข้อมูล หรือเว็บไซต์สำหรับบุคคลทั่วไปที่เข้าไปใช้บริการต่าง ๆ เป็นต้น
2.3.4 การเตรียมข้อมูล
เนื้อหาหรือข้อมูลจัดว่าเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และต้องทราบว่าข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สามารถนำมาจากแหล่งใดบ้าง เช่น การคิดนำเสนอข้อมูลด้วยตัวเอง หรือนำข้อมูลที่น่าสนใจมาจากสื่ออื่น เช่น หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน เว็บไซต์ และที่สำคัญ ขออนุญาตเจ้าของบทความก่อนเพื่อป้องกันเรื่องลิขสิทธิ์ด้วย
2.3.5 การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็น
ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องอาศัยความสามารถต่าง ๆ เช่น โปรแกรมสำหรัสร้าง เว็บไซต์ ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย การจดโดเมนเนม การหาผู้ให้บริการรับฝากเว็บไซต์ (Web Hosting) เป็นต้น

2.3.6 การจัดโครงสร้างข้อมูล
เมื่อได้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น กำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมข้อมูล การเตรียมสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจากขั้นแรกเรียบร้อยแล้ว ในขั้นตอนนี้ เราจะจัดระบบเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการออกแบบและดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
– โครงสร้างและสารบัญของเว็บไซต์
– การใช้ระบบนำผู้เข้าชมไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์หรือที่เราเรียกว่าระบบนำทาง (Navigation)
– องค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ภาพกราฟิก แบบฟอร์มต่าง ๆ
– การกำหนดรูปแบบและลักษณะของเว็บเพจ
– การกำหนดฐานข้อมูล ภาษาสคริปต์หรือแอปพลิเคชันที่นำมาใช้ในเว็บไซต์
– การบริการเสริมต่าง ๆ
– การออกแบบเว็บไซต์
นับเป็นขั้นตอนในการออกแบบรูปร่าง โครงสร้างและลักษณะทางด้านกราฟิกของหน้าเว็บเพจโดย โปรแกรมที่เหมาะสมในการออกแบบคือ Photoshop หรือ Fireworks ซึ่งจะช่วยในการสร้างเค้าโครงของหน้าเว็บและองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ชื่อเว็บไซต์ โลโก้ รูปไอคอน ปุ่มไอคอน ภาพเคลื่อนไหว แบนเนอร์โฆษณา เป็นต้น
ในการออกแบบเว็บไซต์นั้นยังต้องคำนึงถึงสีสันและรูปแบบของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ภาพกราฟิก เช่น ขนาดของตัวอักษร สีของข้อความ สีพื้น ลวดลายของเส้นกรอบเพื่อความสวยงามและดึง ดูดผู้เยี่ยมชมด้วย
2.4 เว็บบล็อก (Weblog)
เว็บบล็อก (Weblog) เป็นคำที่มาจากคำว่า เว็บ (Web) กับคำว่า บล็อก (Blog) รวมกันเรียกว่า เว็บบล็อก ความหมายของเว็บบล็อกคือ เครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด แต่เน้นการใช้งานไปที่การบันทึกเรื่องราวหรือข้อมูลส่วนตัวเหมือนกับไดอารี่ จะแสดงข้อมูลในลักษณะที่เป็นหัวข้อประกอบบทคัดย่อ จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ (2548) ได้อธิบายเว็บบล็อกเอาไว้ว่า บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่ง ๆ (Blogger) สนใจโดยเฉพาะ
นิธิธัช กิตติวิสาร (2548) ได้กล่าวถึง Blog: กระแสบนโลกอินเตอร์เน็ท ผลิกโฉมการจัดการความรู้ในองค์การต้นกำเนิด Weblog นั้น เริ่มมีใช้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 1997 โดยผู้ที่คิดชื่อนี้คือ Jorn Barger Blog เป็นเว็บไซต์ที่สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างแล้วแต่เจ้าของอยากให้เป็น ตั้งแต่ไดอารีส่วนตัว สถานที่สำหรับใช้ในการทำงานร่วมกัน (collaborative work space) หรือสภากาแฟสำหรับคุยเรื่องการเมือง แหล่งรวมข่าวสารความเป็นไป แหล่งรวมลิงค์ ไปจนถึงสมุดบันทึกความเป็นไปของโลกใบนี้ สรุปก็คือ “Blog” เป็นที่ซึ่งเราเอาไว้เขียนเรื่องราวที่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยเรื่องที่เขียนเข้าไปใหม่ จะอยู่ส่วนบนสุด ซึ่งทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม สามารถอ่านเรื่องราวใหม่ๆได้ และยังสามารถที่จะเสนอแนะหรือติชมได้ ในกรณีที่เจ้าของ Blog นั้นๆ อนุญาต blog ที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น blog ที่มีข้อมูล (content) ดี ที่ทำให้คนติดใจต้องกลับมาติดตามอ่านทุกครั้ง ที่มีการอัพเดท หรือโพสต์เพิ่มเติม คนทั่วไปส่วนมาก มักจะแยกไม่ออกว่าอะไรคือ blog นอกจากคำจำกัดความข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว blog จะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า เว็บไซต์ทั่วไป blog จะถูกสร้างขึ้นจากคนๆเดียว และข้อมูลที่เขียนก็จะมาจากคนๆเดียว เป็นเรื่องที่เขียนถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของคนๆนั้นเท่านั้น ทำให้คนธรรมดาทั่วไปทุกคน ได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นของตัวเองโดยไม่ต้องผ่านสื่อใดๆ ที่อาจจะคอยกลั่นกรองเรื่องราว เพียงเพราะว่าสิ่งนั้นๆ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนส่วนใหญ่ในสังคม หรืออาจจะไม่มี “เนื้อที่” อาทิ “หน้ากระดาษ” ถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และ เวลา ถ้าเป็นสื่อวิทยุหรือโทรทัศน์ เพียงพอที่จะผ่านสื่อนั้นออกไป ในประเทศที่ประชาชนทั่วไปเชื่อว่า เนื้อหาต่างๆถูกควบคุม หรือ เซ็นเซอร์ อาทิ จีน เกาหลีเหนือ หรือในประเทศที่ประชาชนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เชื่อมั่นในความเชื่อของตัวเอง อย่างสหรัฐอเมริกา เนื่องจากใครก็ได้สามารถสร้าง blog ขึ้นมาได้ โดยขณะนี้ สามารถทำบล็อกได้ฟรีๆ จากหลายเว็บไซต์ เท่านี้ทุกๆคนสามารถเป็น “สื่อ” ได้ด้วยตัวเอง
เว็บบล็อกสามารถนำไปใช้ในการจัดการความรู้ได้ในทุกระดับ เฮน และเบค (Hain and Beck , 2008) ได้กล่าวถึงการออกแบบบทเรียนโดยการใช้เว็บบล็อกในระดับอุดมศึกษาถูกมองว่าเว็บบล็อกเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเว็บบล็อกเป็นส่วนหนึ่งของยุคเว็บ 2.0 และผู้ใช้สามารถเข้าร่วมในการจัดการเนื้อหาโดยสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ถ่ายโอนความรู้ภายในตัวของเขาซึ่งกระบวนการในการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้เว็บบล็อกจะมีใน 2 ลักษณะคือ การเรียนรู้แบบรายบุคคลที่มีผลเกิดจากการมีส่วนในเว็บบล็อก กับการเรียนรู้จากการโต้ตอบหลายคน อันเป็นผลจากการมีปฏิบัติสัมพันธ์การอภิปรายภายในกลุ่มโดยเฉพาะเรื่องมีความสนใจร่วมกัน ขณะที่ความเห็นของนามวอร์และเรสกู (Namwar and Restgoo, 2008) ได้กล่าวถึงเหตุผลที่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีการนำเอาเว็บบล็อกมาเป็นกระบวนการหนึ่งในการเรียนรู้ เว็บบล็อกสามารถมานำใช้งานได้เหมือนการสอนปกติเหตุที่มีการนำเว็บบล็อกมาใช้ในสถาบันอุดมศึกษาเนื่องจากง่ายต่อการเรียนรู้ และมีการเพิ่มเติมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วสามารถนำไปใช้ในการเรียนแบบร่วมมือ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ได้เป็นอย่างดี ขณะที่การศึกษาของคอสต้า (Costa, 2007) ที่ได้ศึกษาการใช้เว็บบล็อกในการพัฒนาวิชาชีพ โดยนำเว็บบล็อกไปช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในที่ทำงานของห้องสมุด พบว่า จากการประเมินผลการนำเว็บบล็อกไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพแสดงให้เห็นว่าการนำเว็บบล็อกมาใช้ฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์ข้อมูลและวรรณคดีในห้องสมุดทำให้เกิดผลการเรียนรู้ขึ้นในขณะทำงาน โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการจัดการความรู้และความสามารถทางด้านสารสนเทศสามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติโดยการใช้เว็บบล็อกผลการปฏิบัติในโครงการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดการเรียนแบบทีมขึ้นในขณะปฏิบัติงาน
2.4.1 เว็บบล็อกกับการจัดการความรู้
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ก็ได้จัดทำเว็บบล็อกที่เรียกว่า โกทูโนว์ และเป็นเจ้าของและบริหารงานเว็บไซต์ GotoKnow.org (GotoKnow) กฏระเบียบเงื่อนไขในการให้บริการของ GotoKnow มีให้แก่ผู้ใช้ ได้แก่ การบันทึกข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ลงบนเว็บเพจ รวมทั้งการแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นต่างๆ ผ่านทางเว็บ ซึ่งบริการเหล่านี้เป็นการให้บริการฟรีโดยไม่คิด ค่าใช้จ่าย Gotoknow.org เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการระบบ “บล็อก (Blog) หรือ เว็บล็อก (Weblog)” แก่บุคคลทั่วไป เพื่อใช้สำหรับจัดการความรู้ทั้งในระบบตัวบุคคล (individual) และในลักษณะที่เป็นชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) นอกจากนี้ยังได้มีบทบาท ในฐานะคลังความรู้รวมของไทย อีกทั้งยังเป็นเวทีรวมของผู้เชี่ยวชาญชาวไทยให้มา รวมตัวกันเพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ เช่น อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช อาจารย์หมอ JJ คุณชายชอบ และอีกหลาย ๆ ท่าน Gotoknow.org เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการบันทึกการทำงาน และจัดเก็บเรื่องราวต่างๆ และขณะเดียวกันก็เป็นการเผยแพร่สู่สังคมในวงกว้าง ซึ่งทำให้เป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างสังคมไทยให้ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (ประพนธ์ ผาสุกยืด, 2550)
อนวัช กาทอง (2551) ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างเว็บบล็อก (Weblog) กับ เว็บบอร์ด (Webboard) เอาไว้ว่า คนส่วนใหญ่จะรู้จักกับเว็บบอร์ด (Webboard) หรือเรียกว่ากระดานข่าวก็ได้ เป็นเว็บที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ก็เพราะเว็บบอร์ด (Webboard) นั้นเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารได้ดีและเป็นแหล่งข่าวสารต่าง ๆ มากมายที่มีผู้คนมากมายมาช่วยกันแสดงความคิดเห็น แต่จะไม่สามารถระบุตัวตนที่แน่นอนได้ว่า ข้อความนี้เป็นของใครและมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดเมื่ออ่านแล้วจะต้องพิจารณากันเอง และการจัดการข้อความและเนื้อหานั้นจะอยู่ที่ผู้ดูและระบบคนเดียวที่สามารถจะลบ หรือ แก้ไข ได้ ส่วนเว็บบล็อก (Weblog) นั้นจะมีความเป็นของตัวเองนั้นคือสามารถจัดการบริหารเนื้อหาได้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข เนื้อหาของตัวเองได้และการแสดงความคิดเห็นก็สามารถที่จะทราบได้ว่าคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นคือใคร เพราะระบบของเว็บบล็อก(Weblog) นั้นจะอนุญาตให้เฉพาะคนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะมีสิทธ์เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นได้ และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกเช่น พื้นที่ในการจัดเก็บรูปภาพ แฟ้ม ข้อมูล อื่นๆ และยังมีการแสดงเนื้อหาหลากลายรูปแบบให้เลือก องค์ประกอบของซอร์ฟแวร์ในการจัดการเว็บบล็อก (Weblog) ปัจจุบันผู้ดูแลเว็บไชต์ (Webmaster) เปิดให้บริการเว็บบล็อก (Weblog) กันมากขึ้นซึ่งมีทั้งการใช้ซอร์ฟแวร์ที่ซื้อมา หรืออาจจะเป็นซอร์ฟแวร์รหัสเปิด (Open Source) หรือจะพัฒนาขึ้นมาใช้เอง แต่ทั้งนี้ก็จะมีองค์ประกอบหลักๆ ของซอร์ฟแวร์ที่คล้าย ๆ กัน
ไมโครซอฟท์ (2550) ได้เผยผลการวิจัย “วินโดวส์ ไลฟ์” คนไทยเกาะเทรนด์ “เว็บบล็อก” อันดับ 1 เอเชีย โดยปัจจุบันมีจำนวนคนไทยที่เคยสัมผัสกับเว็บบล็อกของเพื่อน และแวดวงคนใกล้ชิดแล้ว ประมาณ 1.7 ล้านราย ถือเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เลยทีเดียว “แกรนท์ วัตส์” ผู้จัดการทั่วไปของไมโครซอฟท์ ผู้พัฒนาวินโดวส์ ไลฟ์ และเอ็มเอสเอ็น ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า สาเหตุที่เว็บบล็อกเป็นที่นิยมสูงในไทยทั้งที่ประเทศสิงคโปร์มีจำนวนการใช้บรอดแบนด์สูงกว่า อาจเป็นเพราะคนไทยมีวัฒนธรรมชอบเล่าเรื่อง แสดงความเห็น แบ่งปัน แชร์ข้อมูล แสดงความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นช่องทางในการติดต่อเพื่อนฝูงได้
จากการสำรวจออนไลน์ของไมโครซอฟท์ (2550) ที่ชื่อว่า Blogging Thailand : A Windows Live Report ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อข้อมูลการพัฒนาการใช้บล็อกต่อไป โดยสำรวจกลุ่มผู้ใช้เว็บท่าเอ็มเอสเอ็นในประเทศไทย 1,000 คน ระบุว่า จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 8.4 ล้านคนมีกว่า 21% ที่มีการใช้บล็อก (อ่านหรือเขียนบันทึกแบบออนไลน์) สำหรับหัวข้อบล็อกที่คนนิยมงานสูงสุด ได้แก่ เทคโนโลยี, การท่องเที่ยว, การศึกษา และเหตุการณ์ข่าวสาร เป็นต้น และจะพบว่ากลุ่มที่ใช้งานบล็อก จะเป็นสัดส่วนของผู้หญิงมากกว่า โดยเป็นผู้หญิง 57% และผู้ชาย 43% และผู้ใช้งานบล็อกกว่า 57% อายุต่ำกว่า 25 ปี และระดับอายุ 25-34 ปีจำนวน 34% และมากกว่า 35 ปีมีเพียง 9% โดยจำนวนผู้เคยใช้บล็อกระบุว่า เว็บบล็อกที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด ได้แก่ Window Live Spaces 61%, Myspace 29%, ชื่อเว็บส่วนบุคคล 25%, Blogspot.com 13% และ Blog.com 11% ตามลำดับ
แกรนท์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปลายเดือนมกราคมนี้ ไมโครซอฟท์จะเปิดตัวโปรแกรม Window Live Spaces ที่สามารถรองรับเมนูภาษาไทยได้เป็นครั้งแรก เพื่อให้คนไทยสามารถใช้งานและสร้างบล็อกของตนเองได้ง่ายขึ้น รวมทั้งยังอัพเกรดโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น เวอร์ชั่นล่าสุด 8.1 โปรแกรมที่เชื่อมการใช้งานบล็อกกับเอ็มเอสเอ็นเข้าด้วยกัน ให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น “เว็บบล็อกช่วยเสริมให้คนใช้เวลากับการใช้งานบนโลกออนไลน์เพิ่ม ทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาบนโลกออนไลน์เติบโตเพิ่มขึ้นด้วย”
ปัจจุบันประเทศไทยมีมูลค่าตลาดโฆษณารวม 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นโฆษณาออนไลน์เพียง 1% แต่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตเพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 25% เนื่องจากการพัฒนาคอนเทนต์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นสื่อใหม่ที่เข้าถึงคนในกลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างไรก็ตาม อีก 6 เดือนข้างหน้า ไมโครซอฟท์มีแผนที่จะพัฒนาให้คอนเทนต์ดังกล่าวรันบนพีดีเอ และโทรศัพท์มือถือได้ด้วย เพราะไทยมีสัดส่วนผู้ใช้มือถือกว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศ หากมีซอฟต์แวร์ที่รองรับกับมือถือได้ ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ประชากรในประเทศไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น

2.4.2 ประเภทของเว็บบล็อก
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเว็บบล็อก เนื่องจากมีการจัดสร้างเว็บบล็อกในหลายรูปแบบ มีการนำไปใช้งานในหลายประเภทงาน จึงต้องทำความเข้าใจถึงประเภทของเว็บบล็อกที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปในระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะพบว่าเว็บบล็อกจะมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่คือ
2.4.2.1 เว็บบล็อกอย่างเดียว เป็นเว็บไซต์ประเภทที่มีการทำงานเป็นเว็บบล็อก ประเภทที่เป็นเว็บบล็อกแท้ ๆ นั่นคือ เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์นั้นก็จะทำงานในลักษณะของเว็บบล็อกอย่างเดียว ไม่มีลักษณะการทำงานอย่างอื่นร่วมด้วย โดยจะให้สมัครเป็นสมาชิกฟรีและจัดสรรพื้นที่ให้อยู่ในกรอบของเว็บเดียวกัน ซึ่งจะมีลักษณะเช่นนี้อยู่มากมายในประเภทไทยก็ได้แก่ บล็อก gotoknow , learners.in.th , researchers.in.th หรืออย่างในต่างประเทศก็อย่างเช่น blogger เป็นต้น
2.4.2.2 เว็บบล็อกพร้อมโปรแกรม เป็นเว็บไซต์ประเภทที่ทำงานเป็นเว็บบล็อกอย่างเดียว ไม่มีลักษณะการทำงานอย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย ไม่แตกต่างไปจากเว็บบล็อกเดี่ยวเท่าไหร่นัก เพียงแต่เป็นเว็บที่แจกโปรแกรมเว็บบล็อกให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งทำงานเองได้ด้วย เรียกว่ามีทั้งแบบที่สมาชิกแล้วให้พื้นที่ฟรีทำเว็บบล็อก แถมโปรแกรมไปให้ด้วยถ้าอย่างจะทำเป็นของตนเอง นอกจากนี้ก็มีเว็บพันธมิตรที่ร่วมในการพัฒนาเป็นเครือข่ายเช่น เว็บบล็อกแจกโปรแกรม แล้วมีเว็บพันธมิตรพัฒนาหน้าจอภาพเป็นรูปแบบสำเร็จรูปหรือธีม (Theme) สำหรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าจอให้ด้วย เว็บประเภทนี้ได้แก่ WordPress ซึ่งเป็นเว็บบล็อกที่แจกโปรแกรมให้ฟรี ก็จะมีเว็บพันธมิตรอย่าง Wp-design เป็นเว็บสนับสนุนสร้างธีมและองค์ประกอบต่าง ๆ เพิ่มเติมให้ด้วย
2.4.2.3 เว็บบล็อกประเภทส่วนหนึ่งของเว็บ เป็นเว็บบล็อกที่ไม่ได้ทำงานเป็นเว็บบล็อกอย่างเดียวแต่มีส่วนเป็นบริการหนึ่งของเว็บประเภทเครือข่ายสังคม (social networking) นั่นคือเว็บหลักจะเลือกใช้บริการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยหรือไม่ก็ได้ จะพบเห็นในเว็บประเภทที่จัดทำเป็นวาไรตี้มีหลายบริการให้เลือกใช้งานเช่น space live ของ Microsoft ที่มีบริการต่าง ๆ รวมทั้งบล็อกให้เลือกว่าจะใช้งานหรือไม่ใช่งาน เช่นเดียวกับ multiply , tragged หรือสารพัดเว็บวาไรตี้ที่สามารถเลือกเพิ่มบล็อกเข้าไปด้วยหรือไม่ หรือไม่ใช่ก็ได้เช่นกัน
แนะนำเว็บไซต์ประเภทเว็บบล็อก
– Learner.in.th / Researchers.in.th
– Gotoknow.org
– Blogger
– OKnation
– WordPress
2.5 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงความรู้ ความคิด ความเชื่อที่ท้องถิ่นได้สั่งสมและ สืบทอดต่อกันมา ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ วิธีการ เครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาของการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุขของบุคคลในท้องถิ่นให้อยู่รอด
ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ
ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเตรื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

2.5.1 ความคิดและการแสดงออก
เพื่อจะเข้าใจภูมิปัญญาชาวบ้าน จำเป็นต้องเข้าใจความคิดของชาวบ้านเกี่ยวกับโลกหรือที่เรียกว่า โลกทัศน์ และเกี่ยวกับชีวิตที่เรียกว่า ชีวทัศน์ สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ทีเป็นรูปธรรม
แนวคิดเรื่องความสมดุล เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ นั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บป่วยได้เพราะธาตุขาดความสมดุล
ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา
ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา
ชาวบ้านยังไม่รู้จักสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สิ่งของในธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน ใช้มูลสัตว์ ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ น้ำสะอาดและไม่เหือดแห้ง ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ เชื่อว่ามีเทพมีเจ้าสถิตอยุ่ในดิน น้ำ ป่า เขา สถานที่ทุกแห่งจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพและพอดีพองาม ชาวบ้านรู้คุณธรรมชาติ ที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าว เช่น งานบุญพิธีที่เกี่ยวกับ น้ำ ข้าว ป่าเขา รวมถึงสัตว์ บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ มีพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วน เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความเร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านยังความสัมพันธ์กับพวกเขา ทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ
การทำมาหากิน
แม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่าง ๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความสามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่ง ก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ก็เป็นความรู้ความสามารถที่มีมาแต่โบราณ คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบหมืองฝายมีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลายรูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่าง ๆ แต่ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กาละแม ขนมครก และอื่น ๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสากรรมในครัวเรือน
ความรู้เรื่องการปรุงอาหารก็มีอยู่มากมายแต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบและรสชาติแตกต่างกันไปมีมากมายนับร้อยนับพันชนิด แม้ในชีวิตประจำวันจะมีเพียงไม่กี่อย่าง แต่โอกาสงานพิธี งานเลี้ยง งานฉลองสำคัญ จะมีการจัดเตรียมอาหารอย่างดีและพิถีพิถัน
การทำมาหากินในประเพณีเดิมนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเตรียมอาหาร การจัดขนมและผลไม้ ไม่ได้เป็นเพียงเพื่อให้รับประทานและอร่อย แต่ให้ได้ความสวยงาม ทำให้สามารถสัมผัสกับอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทางปากและรสชาติของลิ้น แต่ทางตาและทางใจ การเตรียมอาหารนั้นเป็นงานศิลปะที่ปรุงแต่งด้วยความตั้งใจ ใช้เวลา ผีมือ และความรู้ความสามารถ
ชาวบ้านสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลักเพราะเมื่อมีข้าวแล้วก็สบายใจ อย่างอื่นพอหาได้จากธรรมชาติ เสร็จหน้านาก็จะทำงานหัตถกรรม การทอผ้า ทำเสื่อ เลี้ยงไหม เลี้ยงไหม ทำเครื่องมือสำหรับจับสัตว์ เครื่องมือการเกษตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น หรือเตรียมพื้นที่เพื่อการทำนาครั้งต่อไป
หัตถกรรมเป็นทรัพย์สินและมรดกทางภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษเพราะเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อและคุณค่าต่าง ๆ ที่สั่งสมมาแต่นมนาน ลายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ฝีมือในการทออย่างประณีต รูปแบบเครื่องมือที่สานด้วยไม้ไผ่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ เครื่องดนตรี เครื่องเล่น สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอย การทำบุญหรือการอุทิศให้ใครคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย
ชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อการยังชีพ ไม่ได้ทำเพื่อขาย มีการนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปแลกสิ่งของที่จำเป็นที่ตนเองไม่มี เช่น นำข้าวไปแลกเกลือ พริก ปลา ไก่ หรือเสื้อผ้า การขายผลิตผลมีเพียงส่วนน้อย และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อเสียภาษีให้รัฐ ชาวบ้านนำผลิตผล เช่น ข้าว ไปขายในเมืองให้กับพ่อค้าหรือขายให้กับพ่อท้องถิ่นเช่นทางภาคอีสาน เรียกว่า “นายฮ้อย” คนเหล่านี้จะนำผลผลิตบางอย่างเช่น ข้าว ปลาร้า วัว ควาย ไปขายในที่ไกล ๆ ทางภาคเหนือมีพ่อค้าวัวต่าง ๆ เป็นต้น
แม้ว่าความรู้เรื่องการค้าขายของคนสมัยก่อนไม่อาจจะนำมาใช้ในระบบตลาดเช่นปัจจุบันได้ เพราะสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่การค้าที่มีจริยธรรมของพ่อค้าในอดีต ที่ไม่ได้หวังแต่เพียงกำไร แต่คำนึงถึงการช่วยเหลือแบ่งปันเป็นหลัก ยังมีคุณค่าสำหรับปัจจุบัน นอกนั้น ในหลายพื้นที่ในชนบท ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังมีอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนซึ่งชาวบ้านไม่มีเงินสด แต่มีผลิตผลต่างๆ ระบบการแลกเปลี่ยนไม่ได้ยึดหลักมาตราชั่งวัดหรือการตีราคาของสิ่งของ แต่แลกเปลี่ยนโดยการคำนึงถึงสถานการณ์ของผู้แลกทั้งสองฝ่ายคนที่เอาปลาหรือไก่มาของแลกข้าว อาจจะได้ข้าวเป็นถังเพราะเจ้าของข้าวคำนึงถึงความจำเป็นของครอบครัวเจ้าของไก่ ถ้าตีราคาเป็นเงินข้าวหนึ่งถังย่อมมีค่าสูงกว่าไก่หนึ่งตัว

2.5.2 การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง
แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฏระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ “ผิดผี” คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เฃ่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง
ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี “ค่าครู” แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว “วิชา” ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ
ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน
ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ “บวชเรียน” ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป

2.5.3 ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน
ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน
ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน
การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสรางบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป
การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้เครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม

Posted in Uncategorized | Leave a comment

บทที่ 3

ในการพัฒนาเว็บบล็อกเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1 การศึกษา และ รวบรวมข้อมูลต่างๆ
3.2 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์
3.3 ออกแบบเว็บแต่ละหน้าภายในเว็บไซต์

3.1 การศึกษา และ รวบรวมข้อมูลต่างๆ
ในการจัดทำเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมาในครั้งนี้ เริ่มจากคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการทอเสื่อ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การออกแบบเว็บไซต์ และการสร้างเว็บบล็อกด้วยเวิร์ดเพรส
3.2 กำหนดโครงสร้างของเว็บบล็อก
คณะผู้จัดทำได้ทำการกำหนดโครงสร้างของเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

Posted in Uncategorized | Leave a comment

บทที่ 4

จากการดำเนินงานการสร้างเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง ปราสาทบ้านถนนหัก คณะผู้จัดทำได้ทำการออกแบบโครงสร้างเว็บบล็อกและจัดทำเว็บบล็อก castlethanonhug.wordpress.com

Posted in Uncategorized | Leave a comment

บทที่ 5

5.1 สรุปผลการดำเนินโครงงาน
การทำโครงงานการพัฒนาเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก เรื่อง การทอเสื่อ โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ การออกแบบเว็บไซต์ การศึกษาการจัดทำเว็บบล็อกด้วยเวิร์ดเพรส โดยได้มีการลงไปศึกษาและเก็บข้อมูลยังพื้นที่เป้าหมายเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คณะผู้จัดทำสนใจ ติดต่อวิทยากรเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการทอเสื่อเพื่อให้ท่านได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทอเสื่อต่าง ๆ ตั้งแต่การจัดหาวัสดอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอเสื่อ พอได้วัสดุอุปกรณ์มาแล้วต้องดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับวัสดุปอุปกรณ์เพื่อให้พร้อมต่อการดำเนินการจัดทำ เมื่อวัสดุอุปกรณ์พร้อมก็ดำเนินการทอเสื่อตามรูปแบบที่วิทยากรได้แนะนำรวมทั้งวิธีในการพัฒนาให้ได้ผลงานสวยงามและมีคุณภาพ พร้อมที่จะนำไปใช้งานหรือนำไปจำหน่วยได้
จากการทำโครงงานการพัฒนาเว็บบล็อกภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมาก เรื่อง การทอเสื่อ ได้มีการทดสอบความถูกต้องของเว็บบล็อก ทั้งด้านเนื้อหาและรูปภาพ ความเหมาะสมต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการทำโครงานครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน ทำให้ได้เว็บบล็อกการทอเสื่อ ซึ่งเป็นภุมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอหนองบุญมากที่สวยงาม เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ของบุคคลทั่วไป และอนุรักษ์ไว้ซึ่งภุมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา
5.2 ปัญญาและอุปสรรค
5.2.1 ในการเก็บข้อมูลจริงเกี่ยวกับการทอเสี่อต้องอาศัยการเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทางคณะ ต้องนัดหมายให้ว่างพร้อม ๆ กัน ถึงจะเก็บข้อมูลได้เพราะต้องมีการปฏิบัติในการทอเสื่อด้วย
5.2.2 วิทยากรที่ให้ความรู้บางครั้งท่านไม่ว่าง ไม่สามารถที่จะให้ความรู้ในขณะนั้นได้ ต้องเลื่อนการศึกษาการทอเสื่อออกไปอีก
5.2.3 การทำเว็บบล็อกด้วยเวิร์ดเพรส จะเจอปัญหาถ้าหากเข้าทำพร้อม ๆ กันหรือมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเยอะจำทำให้เว็บช้ามาก ไม่สามารถดำเนินการได้
5.3 ข้อเสนอแนะ
5.3.1 ในการศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรศึกษาจริง ๆ โดยมีวิทยากรที่เป็นเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นพี่เลี้ยงจะช่วยให้เข้าใจ และสามารถอนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปเรื่อย ๆ
5.3.2 ควรพัฒนาเว็บบล็อกต่อไปเรื่อยและปรับปรุงให้น่าสนใจน่าศึกษาค้นคว้า
5.2.3 ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่น ๆ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

Posted in Uncategorized | Leave a comment